Articles

“นอน-นั่ง” อย่างไรไม่ทำให้ปวดหลัง

Tweet !function(d,s,id){var js,fjs=d.getElementsByTagName(s)[0];if(!d.getElementById(id)){js=d.createElement(s);js.id=id;js.src=”//platform.twitter.com/widgets.js”;fjs.parentNode.insertBefore(js,fjs);}}(document,”script”,”twitter-wjs”);

อาจกล่าวได้ว่า อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดเอวเป็นอาการที่หลายๆ บ้านมักบ่นโอ๊ยๆ กันมากหลังจากตื่นนอน หรือนั่งทำงาน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ชาวออฟฟิศที่นั่งอยู่กับเอกสาร และหน้าจอคอมพ์เป็นเวลานานๆ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาวตามมาได้

วันนี้มีคำแนะนำดีๆ จาก ดร.เจฟฟรี สว๊อป อีกหนึ่งนักไคโรแพรคเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท การดูแลกระดูกสันหลัง และข้อ ที่ให้ความรู้ว่า ท่านอนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากนอนไม่ถูกท่า อาจนำมาซึ่งอาการปวดหลัง ปวดคอได้ ซึ่งท่านอนที่ดีที่สุดนั้น คือท่านอนหงาย เพราะจะทำให้หลับลึก และเป็นท่าที่รองรับกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี ส่วนหมอนที่นอนควรจะมีลักษณะเตี้ย หรือเป็นหมอนที่รองรับกับศีรษะและคอได้อย่างพอดี ควรเป็นหมอนที่เป็นแอ่ง โค้งเว้า

ส่วนท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ท่านอนคว่ำ เพราะเวลาที่เรานอนคว่ำ ท่านี้จะบังคับให้เราต้องบิดลำคอไปด้านใดด้านหนึ่งเสมอ ซึ่งจะทำให้กระดูกสันหลังบริเวณคอเกิดความตึง เพราะถูกบิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้องทั้งคืน อาจทำให้เกิดอาการล๊อคหรือเรียกว่า “คอตกหมอน” ได้

“การที่คอตกหมอน เวลาตื่นขึ้นมาจะรู้สึกเมื่อยคอ หรือคอเคล็ด หากเป็นเช่นนี้นาน ๆ ก็จะทำให้เกิดการสะสมส่งผลให้ข้อกระดูกกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งอาจจะส่งผลกับข้อต่อของกระดูกสันหลัง ทำให้มีอาการปวดคอ ปวดศีรษะ มีอาการมึนงง และข้อต่อกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย” […]

จะนอน จะนั่ง จะยืน จะทำงาน ท่าไหนดี?

Tweet !function(d,s,id){var js,fjs=d.getElementsByTagName(s)[0];if(!d.getElementById(id)){js=d.createElement(s);js.id=id;js.src=”//platform.twitter.com/widgets.js”;fjs.parentNode.insertBefore(js,fjs);}}(document,”script”,”twitter-wjs”);

มีอาการเจ็บปวดหรือโรคหลายชนิดที่สามารถป้องกันได้ ถ้าเราสนใจท่าทางต่างๆ ของเราเองในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น อาการปวดต้นคอ อาการปวดหลัง การปวดร้าวลงมาที่แขนและขา ข้อไหล่ติดขัด ข้อเท้าแพลง อาการเสื่อมของข้อสะโพกและข้อเข่า การฉีกขาดของเส้นเอ็นตามข้อต่างๆ

อาการเหล่านี้มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากท่าทางที่ผิดปกติทั้งนั้น ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลานอนพักหรือไม่สามารถทำงานในระยะเวลาหนึ่ง ทั้งเสียเงินทองที่จะต้องหายามาทา ถู กิน เพื่อลดอาการเจ็บปวด แต่แล้วเนื่องจากไม่ได้แก้ไขที่ต้นคอ อาการต่างๆ จึงไม่ได้หายไปและมักจะเป็นมากขึ้น ทั้งยังมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นจากการกินยาอย่างพร่ำเพรื่อ ทำให้เป็นโรคกระเพาะหรือเกิดอาการแพ้ยาอื่นๆ รวมทั้งการทำลายข้อต่อต่างๆ จากผลของยาเหล่านี้

ทางที่ดีเราจึงควรรักษาสุขภาพของเราเอง โดยป้องกันอาการที่อาจเกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ท่านอนของเรา เราใช้เวลาประมาณ 1/3 ของชีวิตเราในการนอน ท่านอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การนอนนั้นย่อมต้องมีหมอนไว้หนุนศีรษะ

สำหรับหนุ่มสาวทั่วไปนั้น อาจจะไม่สนใจเรื่องหมอนเท่าไรนัก เนื่องจากกระดูกไขข้อยังมีความยืดหยุ่นมาก ดังนั้นไม่ว่าจะใช้หมอนหรือไม่ใช้ ย่อมไม่ค่อยมีข้อแตกต่างกันนัก ทั้งยังสามารถนอนหงาย นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำหรือนั่งหลับบนเก้าอี้ ในบางครั้งอาจจะถึงกับยืนหลับในรถเมล์ก็เป็นไปได้

แต่สำหรับคนสูงอายุหรือวัยกลางคน การนอนจะต้องมีหมอนหนุน และเนื่องจากมักจะนอนอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ไม่นอนดิ้นหรือนอนละเมอบ่อยเหมือนเช่นในวัยหนุ่มสาว เมื่อตื่นขึ้นมาจึงมักพบอาการปวดคอ แขนขาชาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะของหมอนที่ใช้ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งสำคัญสามอย่างคือ ความสูง ความแข็ง […]

5 ท่ายืดเหยียดแก้อาการปวดคอ

 

ผลจากโรคขยันทำงานโดยไม่เปลี่ยนท่า ชาวมนุษย์ออฟฟิศจึงถูกโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังรุมเร้า โดยเฉพาะอาการปวดคอ ทำให้รู้สึกปวดและกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อคอตลอดเวลา

นายแพทย์ลิขิต รักษ์พลเมือง จากภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จึงแนะนำท่าบริหารที่ควรทำเป็นประจำ เพื่อคลายอาการปวดกล้ามเนื้อคอ โดยหันหน้าตรงเป็นท่าเตรียม แล้วทำตามท่าต่อไปนี้ …

ท่าที่ 1 หันศีรษะไปทางซ้ายช้าๆ โดยใช้มือขวาช่วยดันใบหน้าให้ค้างไว้ นับ 1-10 กลับสู่ท่าเตรียม สลับทำด้านขวาอีกหนึ่งครั้ง ท่าที่ 2 ก้มศีรษะลงช้าๆ ให้คางชิดอกมากที่สุด นับ 1-10 กลับสู่ท่าเตรียม ทำหนึ่งครั้ง ท่าที่ 3 เงยศีรษะขึ้นช้าๆ ทิ้งศีรษะไปทางด้านหลังให้มากที่สุด นับ 1-10 กลับสู่ท่าเตรียม ทำหนึ่งครั้ง ท่าที่ 4 เอียงศีรษะไปทางด้านซ้าย โดยใช้มือซ้ายช่วยกดให้ศีรษะชิดไหล่มากที่สุด นับ 1-10 กลับสู่ท่าเตรียม สลับทำด้านขวาอีกหนึ่งครั้ง ท่าที่ 5 หันหน้าไปทางด้านซ้าย 45 องศา โดยใช้มือขวาช่วยดันใบหน้าค้างไว้ จากนั้นก้มหน้าลงช้าๆ […]