Articles

ระย่อม

ระย่อม

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Rauvolfia serpentina (L.) Benth.ex Kurz

ชื่อวงศ์ :  APOCYNACEAE

ชื่ออื่น :  กะย่อม (ใต้); กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เข็มแดง; คลาน;ตู มคลาน; มะโอ่งที; ย่อมตรีหมา (เหนือ-พายัพ); ละย่อม (สุราษฏร์); สะมออู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้น : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 30-70 เซนติเมตร มียางสีขาว
  • ใบ  : ใบรูปหอกใหญ่ ปลายโตแหลม โคนสอบเรียบแหลม ขอบใบเรียบพริ้วเล็กน้อย ผิวเป็นร่องตามแนวเส้นใบ เรียบมันสีเขียวเข้ม กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร
  • ดอก : ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง คล้ายปะการัง โคนดอกเป็นหลอดสีชมพู ปลายดอกสีขาว มีกระเปาะเล็ก ๆ ตรงกลางหลอด ก้านดอกสีเขียว
  • ผล : ผลกลมสีเขียว สุกจะเป็นสีดำ


ส่วนที่ใช้และ
สรรพคุณ :

  • ทางอาหาร : ยอดอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน นำไปทำแกงเลียง แกงส้ม
  • ทางยา : ราก ใช้แก้พิษกาฬ แก้ป้างเพื่อดีและโลหิต ระงับประสาท แก้จุกเสียด บำรุงน้ำนม บดเป็นผง ปั้นเม็ดหรือคั่วให้กรอบ ชงต้มน้ำรับประทาน ช่วยย่อยอาหาร แก้นอนไม่หลับ แก้ปวดศีรษะ เนื่องจากความดันโลหิตสูง เจริญอาหาร ขับพยาธิ ขับระดู แก้บิด ขับปัสสาวะ

 

ระย่อม เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตยาประดงพระสังข์ทรงช้าง