Articles

ปวดประจำเดือน..ทรมานจัง

Premenstrual-pain

สิ่งที่คุณผู้หญิงต้องประสบทุกเดือนคือการมีประจำเดือนนั้นเอง แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรู้ เรามาทบทวนกันว่าประจำเดือนมาได้อย่างไร อวัยวะสืบพันธ์ของคุณผู้หญิงประกอบไปด้วยมดลูก [uterus] มดลูกจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ ภายในมดลูกจะมีเยื่อบุมดลูกซึ่งจะหนาตัวเพื่อให้ทารกฝังตัว แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุจะสลายออกมาซึ่งมีส่วนประกอบคือเลือดและเมือกเป็นประจำเดือนออกทางส่วนปลายของมดลูกเรียกปากมดลูก [cervix ] ซึ่งจะเปิดสู่ช่องคลอด [vagina] มดลูกจะมีท่อที่เรียกว่าท่อรังไข่ [fallopian tube] โดยมีรังไข่ [ovary] อยู่ปลายท่อรังไข่ การมีประจำเดือนจะแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

Follicular (Proliferative) Phase เมื่อประจำเดือนมาเราเรียกวันแรกหรือวันที่หนึ่งของรอบเดือน ปกติประจำเดือนจะมาเฉลี่ย 6 วัน ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือนจนกระทั้งวันที่ 14 ของรอบเดือน ระยะที่ประจำเดือนกำลังมาเป็นช่วงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตเจน และโปรเจสเตอโรน ต่ำสุด จะมีฮอร์โมน Follicular stimulating hormone [FSH] สูงขึ้นทำให้ไข่ในรังไข่สุก ขณะเดียวกันเยื่อบุก็จะหนาตัวเพื่อเตรียมการฝังตัว Ovulation and Secretory (Luteal) Phase ระยะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เป็นต้นไปเมื่อระดับ FSH สูงขึ้นทำให้มีการสร้างฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมน LH จะทำให้เกิดการตกไข่ Ovulation เนื่อเยื่อรอบๆไข่ที่ตกเรียก corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ระยะนี้เยื่อบุจะหนาตัวขึ้นอีกเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น เนื่องจากระยะนี้มีระดับฮอร์โมนของโปรเจสเตอโรนสูงทำให้เกิดอาการของ premenstrual period ถ้าไข่ไม่มีการปฏิสนธิเลือดและเมือกในมดลูกก็ถูกขับออกมาเป็นประจำเดือน

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อใด

ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนอายุ 12-13 ปีแต่ก็มีรายงานว่าเด็กมีประจำเดือนเร็วขึ้นบางรายงานอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนและมีขนที่อวัยวะเพศ ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาเร็วคือโรคอ้วน

หนึ่งรอบเดือนมีกี่วัน

ประจำเดือนในช่วงสองปีแรกจะไม่สม่ำเสมอหลังจากนั้นประจำเดือนก็จะสม่ำเสมอ หนึ่งรอบเดือนจะมีประมาณ 20-40 วัน โดยเฉลี่ยของคนปกติรอบเดือนจะมี 28 วัน จำนวนวันขึ้นกับอายุของผู้ที่มีประจำเดือน กล่าวคือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีจะมีรอบเดือนประมาณ 33 วัน หลังจากอายุ 21 ปีจะมี 28 วัน อายุ 40 ปีจะมีประมาณ 26 วัน

ประจำเดือนจะมากี่วัน

คนปกติจะมีประจำเดือน 6 วันจนกระทั่งเข้าสู่วัยทอง แต่ก็มีผู้หญิงร้อยละ5ที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน ร้อยละ4 มีประจำเดือนมากกว่า 8 วัน

อาการทางกาย

อาการทางกายมักเกิดก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง คัดเต้านม บวมน้ำเล็นน้อย บางคนอาจจะเจ็บเต้านมขณะไข่ตกเมื่อมีประจำเดือนอาการเจ็บเต้านมก็หายไป จุกเสียดแน่นท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ร้อนตามตัว นอนไม่หลับ ไวต่อเสียงและกลิ่น

อาการทางอารมณ์

อารมณ์ของผู้ป่วยจะผันผวนมากโกรธง่าย เครียด จะสูญเสียสมาธิ บางคนความจำไม่ดี มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีอาการซึมเศร้าอย่างมาก โกรธง่าย บางคนอาจจะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล และปวดศีรษะจากความเครียดก่อนมีประจำเดือนเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)ซึ่งเป็นโรค premenstrual syndrome ที่มีอาการรุนแรง โดยต้องมีอาการทางซึมเศร้าอย่างน้อย 5 อาการตามการวินิจฉัย

การวินิจฉัย Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)

ผู้ป่วยจะเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนและหายไปหลังประจำเดือนมาโดยจะต้องมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการเป็นอย่างน้อย

1. รู้สึกซึมเศร้าหมดหวัง อาจจะมีความคิดทำร้ายตัวเอง
2. มีความวิตกกังวลและเครียด
3. อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และอาจจะร้องไห้
4. อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธคนอื่นง่าย
5. ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนอื่น
6. ไม่มีสมาธิในการทำงาน
7. อ่อนเพลียขาดพลังงานในการทำงาน
8. นอนไม่หลับ
9. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง
10. อาการทางกายได้แก่ แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ

ผลของเสียต่อสุขภาพของ Premenstrual syndrome

ขณะที่มี Premenstrual syndrome จะทำให้โรคหลายโรคกำเริบ เช่นโรคปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคลมชัก โรค SLE ผลเสียทางอารมณ์ทำให้มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน บางคนอาจจะมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง
ผู้ป่วยมักจะกังวลเรื่องเจ็บเต้านมทำให้ต้องตรวจ mamography ก่อนวัยอันควร

การวินิจฉัย Premenstrual syndrome

ผู้ป่วยควรทำตารางจดอาการต่างๆที่เกิดในรอบเดือน 2-3 เดือนนำไปปรึกษาแพทย์โดยเริ่มจดตั้งแต่วันที่หนึ่งของรอบเดือนจนกระทั่งประจำเดือนมาดังตัวอย่าง หากมีอาการเหมือนกันและเป็นช่วงเดียวกันของรอบเดือนก็ให้การวินิจฉัยว่าเป็น premenstrual syndrome

ปวดประจำเดือน Dysmenorrhea

มดลูกของคุณผู้หญิงเป็นกล้ามเนื้อการทำงานมีทั้งบีบตัวและคลายตัว มดลูกจะบีบตัวเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกส่วนมากไม่มีอาการ บางคนอาจจะเกิดอาการเหมือนคนปวดท้องถ่าย แต่บางคนปวดท้องประจำเดือนมาก และปวดถี่สาเหตุอาจจะเป็นเพราะมดลูกบีบตัวแรง เกิดจากกระตุ้นของ prostaglandin หรือมีโรคอื่น เช่น endometriosis อาการปวดอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวันเมื่อประจำเดือนมาอาการปวดจะดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการปวดไม่มาก พบร้อยละ10-15 ที่ปวดมากจนต้องหยุดงานผู้ที่มีอาการปวดมากอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

สาเหตุ

สาเหตุจากตัวมดลูกเองเรียก primary dysmenorrhea มักจะร่วมกับประจำเดือนมามากเกิดจาก prostaglandinmeทำให้มดลูกบีบตัวมาก การรักษาให้พัก กระเปาะน้ำร้อนวางที่ท้องน้อยหรือหลัง การออกกำลังกาย และการใช้ยาแก้ปวด aspirin, ibuprofen, naproxen นอกจากนั้นอาจจะใช้ยาคุมกำเนิด รักษาอาการปวดประจำเดือน

ส่วนสาเหตุการปวดประจำเดือนที่มาจากสาเหตุอื่นเรียก secondary dysmenorrhea เช่นโรค premenstrual syndrome (PMS) กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน การใส่ห่วง การหยุดยาคุมกำเนิด ความเครียด การติดเชื้ออุ้งเชิงกราน คือมีเนื้อเยื่อมดลูกไปอยู่ที่อื่น และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้

การป้องกันและการรักษาโดยไม่ใช้ยา

1. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารสำเร็จรูป การปรับอาหารควรกระทำก่อนมีประจำเดือน 14 วัน หลีกเลี่ยงเนื้อแดง นม และอาหารเค็ม รับประทานอาหารที่ให้วิตามินบี 1 บี 6 และ โอเมก้า 3
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มี carbohydrate สูง
3. หลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ และสุรา
4. หากรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนให้รับประทานน้ำขิง
5. รักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วน
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. รับประทาน calcium ทุกวัน (1,500 mg/day), เท่ากับดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว
8. ลดความเครียด
9. ฝังเข็มและโยคะ
10. ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่ควรใช้น้ำหอมที่บริเวณจุดซ่อนเร้น ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดเนื่องจากจะทำลายสภาพแวดล้อมของช่องคลอด

ฝังเข็ม

การรักษาโดยใช้ยา

1. Selective serotonin-reuptake inhibitors (SSRIs) เป็นยาที่เพิ่มระดับ serotonin ในสมองเป็นกลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้าได้แก่ fluoxetine , sertraline , paroxitine มีรายงานว่าสามารถอาการซึมเศร้าและอาการปวดศีรษะ GnRH Analogs เป็นยาที่ลดการสร้าง estrogen ทำให้ไม่มีการตกไข่ทำให้อาการ คัดเต้านม อ่อนเพลีย และโกรธง่ายหายไป แต่ต้องระวังหากใช้มากกว่า 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
2. Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
3. ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งจะป้องกันไข่ตกสามารถลดอาการของ premenstrual syndrome
4. ยาฉีดคุมกำเนิดก็นำมาใช้รักษาอาการได้
5. ยาแก้ปวดเช่น Ibuprofen or Naproxen
6. การรักษาโดยใช้ยาสมุนไพรเพื่อปรับระบบการไหลเวียนของเลือด และบำรุงมดลูก

ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน

– ไม่มีประจำเดือน Amenorrhea

– ประจำเดือนมามาก Menorrhagia

ร้อยละ 9-14 ของผู้หญิงจะมีประจำเดือนมามาก บางคนอาจจะมามากกว่า 7 วันหรือเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 8 ชั่วโมง และมีลิ่มเลือดที่ผ้าอนามัย หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์

อ้างอิงข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ Siam Health
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ Vcharkarn

ยาสตรี 2000
บำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย สำหรับสุภาพสตรี

ยาประดงพระสังข์ทรงช้าง
แก้โรคผิวหนังที่เป็นเม็ดผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย

Comments are closed.