Articles

ลมพิษ โรคที่รักษาหายได้

ลมพิษ ลมพิษเฉียบพลัน ลมพิษเรื้อรัง

ชนิดของโรคลมพิษ Urticaria แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ลมพิษเฉียบพลัน จะเป็นผื่นลมพิษไม่เกิน 6 สัปดาห์ ส่วนมากจะเกิดจากร่างกายได้รับสารที่แพ้ ผื่นมักจะหายใน 24 ชั่วโมง แต่บางคนผื่นอาจจะอยู่ได้ 2-3 วัน สาเหตุมักจะเกิดจากอาหาร ยา และการติดเชื้อไวรัส

2. ลมพิษเรื้อรัง ผื่นลมพิษเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป

สาเหตุของโรคลมพิษ มีหลายประการ คือ

1. อาหาร เช่น อาหารทะเล ถั่ว เห็ด ไข่ขาว นม ยีสต์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สารกันบูด สีผสมอาหาร

2. ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้หวัด ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท วิตามิน ยาระบาย ยาเคลือบกระเพาะ เป็นต้น หากสงสัยว่าเกิดจากยา ควรหยุดยาก่อน แล้วรีบไปพบแพทย์

3. การติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ

4. โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์

5. ในผู้ป่วยบางราย ผื่นลมพิษอาจเกิดจากผิวหนังมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แสงแดด และการออกกำลังกาย เป็นต้น

6. การแพ้สารที่สัมผัส ผื่นลมพิษจะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ผิวหนังสัมผัสกับสารที่แพ้ เช่น ยาง ขนสัตว์ พืช หรืออาหารบางชนิด เป็นต้น

7. แพ้พิษแมลง เช่น ผึ้ง ต่อ

8. มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่นๆ ของร่างกาย

9. ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง ลมพิษในผู้ป่วยบางรายเกิดจากภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น

10. น้ำเหลืองเสีย lymph disorder หรือมีความผิดปกติที่ต่อมน้ำเหลือง malfunction of lymphatic system

11. สาเหตุทางกายภาพ สาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ ความเย็น ความร้อน แสงแดด แรงกดรัด

12. การออกกำลังกาย หากลมพิษเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ผู้ป่วยจะเป็นผู้สังเกตได้ดีกว่าแพทย์และอาจทดสอบง่ายๆ โดยทดลองทำกิจกรรมที่สงสัยนั้นซ้ำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นลมพิษจากความร้อน เมื่อไปเล่นกีฬาจนเหงื่อออกจะเกิดลมพิษขึ้นทุกครั้ง และเมือพักลมพิษจะหายไปเอง เป็นต้น

13. สาเหตุอื่นๆ เช่น ความเครียด หรือผู้ป่วยโรคลูปัสหรือผู้ป่วยโรคเส้นเลือดอักเสบบางราย อาจมีผื่นลมพิษ มีข้อสังเกตคือ แต่ละผื่นจะอยู่นาน มักเกิน 24 ชั่วโมง และเวลาหายมักมีรอยดำ

แม้ว่าจะมีผู้ป่วยลมพิษจำนวนมากที่แพทย์ตรวจไม่พบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยลมพิษควรพบแพทย์ เพราะหากตรวจพบสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค ก็จะสามารถรักษาและหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้นได้ ซึ่งจะทำให้โรคลมพิษสงบลงหรือหายขาดได้

การรักษาโรคลมพิษ

1. พยายามหาสาเหตุ และรักษาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

2. ให้ยาแอนตี้ฮีสตามีน ซึ่งมีหลายชนิด หลายกลุ่ม มีทั้งที่ออกฤทธิ์ระยะสั้นและระยะยาว ทั้งที่ทำให้ง่วงและไม่ทำให้ง่วง การจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยบางรายใช้ยาเพียงตัวเดียวก็ได้ผลดี แต่บางรายแพทย์อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยาแอนตี้ฮีสตามีนในกลุ่มอื่น หรือใช้ยาหลายตัวร่วมกันเพื่อควบคุมอาการ

3. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ผื่นไม่ค่อยตอบสนองต่อยาแอนตี้ฮีสตามีน แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารที่เป็นตัวการก่อให้เกิดผื่นลมพิษในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน ที่หาสาเหตุและแก้ไขได้ เมื่อรับประทานยาแอนตี้ฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้ใน 1-2 สัปดาห์ มีผู้ป่วยบางรายที่หาสาเหตุได้ไม่ชัดเจน ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง

ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ที่ได้สืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขได้ เมื่อรับประทานยาแอนตี้ฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหาสาเหตุไม่พบ หรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ง่ายๆ โรคมักเป็นเรื้อรัง แพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป เพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษ เมื่อควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะค่อยๆ ลดยาลงเพื่อควบคุมโรคในระยะยาว และพยายามหยุดยาถ้าทำได้ ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคเรื้อรังเป็นปี อย่างไรก็ตาม ผื่นลมพิษชนิดเรื้อรังส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง

4. หากรักษามาหลายวิธีแล้วแต่ก็ไม่หายขาด ขอแนะนำให้พิจารณาการรักษากับแพทย์ทางเลือกหรือการรักษาแบบองค์รวมดู หรือใช้ยาสมุนไพรควบคู่ไปกับการรักษาแบบแพทย์แผนไทย

ลมพิษ ลมพิษเฉียบพลัน ลมพิษเรื้อรัง

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคลมพิษ

ผู้ป่วยลมพิษที่เป็นผื่นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลมพิษเฉียบพลัน ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง หน้าบวม ตาบวม ปวดบวมอย่างมาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพราะนอกจากอาการบวมแดงที่ผิวหนังแล้ว บางครั้งอาจเกิดอาการบวมในอวัยวะอื่น และทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ เช่น อาการบวมในทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้อง อาการบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้แน่นหน้าอก อาจเกิดอาการหอบหืด และถึงแก่ชีวิตได้ แต่ก็พบน้อยมาก

ส่วนผู้ป่วยที่มีเฉพาะผื่นลมพิษที่ผิวหนัง ควรปฏิบัติตัวดังนี้

– งดสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

– นำยาแอนตี้ฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เมื่อเกิดอาการจะได้ใช้ได้ทันที

– ไม่แกะเกาผิวหนัง เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังอักเสบได้

– รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากยาทำให้เกิดอาการง่วงซึม จนรบกวนการทำงาน ควรบอกแพทย์เพื่อเปลี่ยนยา

– อาจใช้คาลาไมน์ โลชั่น ทาบริเวณผื่นลมพิษเพื่อช่วยลดอาการคัน แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้ผื่นหาย

– ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพื่อลดการเกิดผื่นและอาการคัน

– ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด

อ้างอิงข้อมูลจาก
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ยาประดงพระสังข์ทรงช้าง
แก้โรคผิวหนังที่เป็นเม็ดผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย

Comments are closed.