Articles

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

หลายครั้งที่คุณอาจตั้งคำถามว่าทำไมต้องไปตรวจสุขภาพทุกๆปี ทั้งๆที่ร่างกายในปัจจุบันก็ยังแข็งแรงดี และบ่อยคั้งที่คุณอาจจะยังงงๆและสงสัยว่าในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้งจะต้องตรวจอะไรบ้างและควรแริ่มจากสิ่งใด เรามีคำตอบให้ในนี้ค่ะ

การตรวจสุขภาพก็เหมือนกับการประเมินสภาพร่างกายของเราค่ะว่า ภายในร่างกายเรายังแข็งแรงอยู่หรือไม่ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตหรือเปล่า และหากตรวจพบว่ามีอาการบางอย่างที่ส่อเค้าว่าอาจพบโรคบางโรคในระยะเริ่มต้น เราจะได้เตรียมปรึกษาคุณหมอเพื่อดูแลและรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคแต่เนิ่นๆ ส่วนข้อจำกัดในการเลือกว่าจะตรวจสภาพร่างกายลักษณะใดนั้น สามารถแบ่งองค์ประกอบโดยขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และความเสี่ยงเป็นหลัก แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงการตรวจสภาพร่างกายมีหลายวิธี หากไม่มีข้อบ่งชี้ หรืิออาการที่แสดงออกมาก็สมควรที่จะต้องเลือกการตรวจวิเคราะห์สภาพร่างกายบางอย่าง เพราะการตรวจบางประเภทนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น หากต้องทำ CT Scan ทั้งตัวเพีื่อหามะเร็ง คุณอาจจะได้รับรังสีมากจนเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ซึ่งเป็นข้อควรระวัง

ที่ผ่านมามีหลายคนที่ตรวจสุขภาพเสร็จแล้วแต่ไม่ทราบว่าต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือควรต้องระมัดระวังเรื่องอะไรบ้าง แสดงว่าคุณได้ประโยชน์แค่ครึ่งเดียว คือการค้นหาโรคที่อาจจะพบเจอจากการตรวจสุขภาพแต่คุณยังไม่ได้ป้องกันตัวเองจากโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขั้นภายหลังถ้าคุณไม่พึงระวัง

ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะเลือกรายการตรวจ เราต้องพิจารณาความเสี่ยง อายุ และเพศเป็นสำคัญ

เรามาดูกันค่ะว่าหลักๆมีอะไรบ้าง

Complete Blood Count
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คือการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพีื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจางและการตรวจนับเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย รวมถึงการตรวจเกร็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล

Glucose
เบาหวาน คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อทำการคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน

Hemoglobin A1C
คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน

Total Cholesterol
คือการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสมบูรณ์ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น

  • 1) HDL-Cholesterol ไขมันชนิดดีทำหน้าที่ป้องกัน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือด
  • 2) LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดีทำหน้าที่ควบคุมระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • 3) Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับ สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • High Sensitivity C-Reactive Protein
    คือการตรวจเพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ Exercise Stress Echocardiography การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ขิดและ Echocardiogram เพื่อดูโครงสร้างจองหัวใจพร้อมทั้งลิ้นหัวใจ การบีบเลือดออกจากหัวใจ ทั้งก่อนและหลังการเดินสายพาน ทำให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขา ซึ่งจะบอกถึงความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในอนาคตได้

    Uric Acid
    คือการตรวจวัดระดับยูริคในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานของโรคเก๊่าท์ โรคนิ่วในไต ส่วนสาเหตุที่ทำให้ระดับยูริคสูงขึ้นอาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก

    Blood Urea Nitrogen BUN
    คือการตรวจการทำงานของไต วัดระดับปริมาณของเสียที่ร่างกายปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากคุณมีโรคไตจะทำให้มีการคั่งของ Creatinine ในร่างกายซึ่งเป็นสารที่บ่งบอกถึงการทำงานของไต

    Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SG OT/AST)
    คือการตรวจการทำงานของตับ เอนไซม์ ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้ิอ สมอง ตับอ่อน ม้ามและไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติ เมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะอันเนื้องมาจากการรับประทานยาบางชนิดหรือการบาดเจ็บของกระดูกเป็นต้น

    การตรวจหาไวรัสตับอักเสบ

    • ไวรัสตับอักเสบบี
    • การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทำได้โดยการตรวจ Hepatitis B Surface Antigen (HbsAg) และทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการตรวจ Hepatitis B Surface Antibody (Anti-HBs) สำหรับผู้ที่ไม่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื้อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

    • ไวรัสตับอักเสบเอ
    • สามารถติดต่อได้จากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหาร ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบซึ่งสามารถทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ โดยการตรวจ HAV LgG ซึ่งหากไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

    • ไวรัสตับอักเสบซี
    • การตรวจสำหรับไวรัสตับอักเสบซีเป็นการตรวจว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหรือไม่ โดยการตรวจ Anti HCV ถ้าตรวจพบว่าเป็น Positive แสดงว่ามีการติดเชื้อหรือเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบซี ต้องพบแพทย์เพื้อรักษาต่อไป

    การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง Tumor Marker

    Alpha-fetoprotein (AF) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ซึ่งถ้าหากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานก็ควรจะต้องทำการตรวจโดยละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับเพื่อยืนยันอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามผลการตรวจ AFP อาจสูงขึ้นกว่าปกติได้เล็กน้อยในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง

    Carcinoembrionic Antigen (CEA)
    เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ อาจพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยมะเร็ง ปอด ตับ ตับอ่อนและสามารถพบได้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน ภาวะตับแข็งหากพบว่าสูงกว่าค่ามาตรฐานต้องทำการตรวจโดยละเอียด เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

    Prostate Specific Antigen (PSA)
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจจะพบว่าสูงกว่าปกติได้ในผู้ป่วยที่มี่ต่อมลูกหมากโต ควรจะทำการตรวจ PSA ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีและควรทำการตรวจเป็นประจำทุกปี

    CA125
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งรังไข่และอาจพบว่าสูงขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีถุงน้ำที่รังไข่ ก้อนเนื้อที่รังไข่หรือมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งถ้าหากพบว่ามีค่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง ส่วนล่างหรือการส่องกล้องเพื่อตรวจภายในช่องท้อง

    CA15-3
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามการตรวจมะเร็งที่ได้ผลดีและเป็นที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือการตรวจเอ็กซเรย์และอัลตราซาวน์เต้านม (Mammogram)

    CA19-9
    เป็นการตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งตับอ่อนและทางเดินอาหาร หากพบว่าสูงกว่ามาตรฐานควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม

    Urine Examination
    การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เพิ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรด ด่าง และการตรวจหาสารต่างๆที่จะปนมาในปัสสาวะ

    Stool Occult Blood
    การตรวจคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะแรกและหากพบว่ามีเลือดปนในอุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด

    Chest X-Ray
    การตรวจเอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีก้อนหรือจุดผิดปกติในปอดและสามารถดูขนาดของหัวใจได้ แต่สำหรับมะเร็งปอด การตรวจเอ็กซเรย์ปอดบางครั้งก็บอกไม่ได้ มาตรวจเดือนนี้ไม่พบแต่อีกสามเดือนมาตรวจอีก แล้วเจอก็เป็นได้

    Ultrasound Whole Abdomen
    การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง ถ้าเป็นช่องท้องส่วนบนจะดูตับ ไต ตับอ่อน ถุงน้ำดี ม้าม เส้นเลือดแดงใหญ่ว่ามีก้อนติ่งเนื้อหรือนิ่วบ้างหรือไม่ และถ้าเป็นช่องท้องส่วนล่างก็จะดูกระเพาะปัสสาวะ คุณผู้หญิงก็จะสามารถเห็นมดลูก รังไข่ ส่วนคุณผู้ชายก็จะสามารถดูต่อมลูกหมากได้

    ดิฉันเชื่อว่าข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นสามารถป้องกันโรคได้และค้นหาโรคตั้งแต่ระยะแรกและสุดท้ายเพื่อนำผลข้อมูลที่ได้ของคุณมาปรับเปบียนพฤติกรรมเดิมๆ ให้มีสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรงขึ้นโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจซำ้ไปซำ้มาจนเกินความจำเป็น

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    นิตยสาร Aigle Vol.1 January 2011

    Comments are closed.