Articles

อาหารรักษามวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน

 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระดูก

กระดูกของคนเรามีการเจริญตั้งแต่ระยะฟีตัส (อยู่ในครรภ์มารดา) ทารก และเรื่อยไปจนถึงอายุประมาณ 25-30 ปี จากนั้นจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของกระดูกด้วยการสะสมมวลกระดูก จนถึงระยะมวลกระดูกสูงสุด (Peck Bone Mass)ที่อายุ 35 ปี หลังจากนั้น มวลกระดูกจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ อย่างไรก็ตามในระยะที่มวลกระดูกยังไม่ถึงค่าสูงสุด การบริโภคแคลเซียมมีความสำคัญ ต่อการสะสมมวลกระดูก หากบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับมวลกระดูกสูงสุด จะต่ำกว่าระดับที่ควรเป็นได้ และจะไปมีผลทำให้เกิดปัญหาภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกบางและเปราะ จึงมีโอกาสแตกหักได้ง่ายโดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพกและสันหลัง หรือกระดูกหลังยุบ ทำให้หลังค่อมตัวเตี้ยลง

การทานอาหารที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ให้มีความแข็งแรงอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น น่าจะมีความสำคัญในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในอนาคตได้ และถึงแม้ว่าบางคนจะมีอายุที่เกินระยะมวลกระดูกสูงสุด (อายุเกิน 35 ปี) การทานอาหารที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ก็เป็นการช่วยรักษาไม่ให้มวลกระดูกที่มีอยู่เสื่อมถอยลงไปจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับพฤติกรรมการทานอาหารต่างๆที่มีผลต่อการเจริญของกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดปัญหาของการเกิดภาวะ กระดูกพรุน หรือกระดูกเปราะบาง ในอนาคตได้

 

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างมวลกระดูก

1. บริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเนื้อกระดูกและป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูก […]