Articles

ทานยาระบายเพื่อลดความอ้วน ดีจริงหรือ

 

ยาระบายหรือยาถ่าย คือ กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ช่วยระบาย หรือถ่ายท้อง หรือถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายหนัก ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก และมีบางคนใช้เพื่อลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน

  ชนิดของยาระบาย

ยาระบายมีหลายชนิดตามกลไกการออกฤทธิ์ เช่น ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (stimulant laxatives) ยาเพิ่มความเหลวของอุจจาระ (saline laxatives) ยาเพิ่มกากใยไฟเบอร์ของอุจจาระ (bulk forming laxatives) ยาสวนทวารหนัก (fleet enema) ยาเหน็บ ทวารหนัก (suppositories) เป็นต้น ยาเหล่านี้ล้วนมีผลให้เกิดการระบายบรรเทาอาการท้องผูกได้ผลดี แต่แตกต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์ วิธีใช้ และระยะเวลาการออกฤทธิ์

 

ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

ในบรรดายาระบายที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ยาระบายชนิดที่ออกฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก และใช้เพื่อลดความอ้วน ตัวอย่างยาระบายที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ เช่น ยาเม็ดเคลือบสีเหลืองเล็กๆ ที่มีชื่อสามัญ ทางยา “บิสโคดิล” (bisacodyl) ยาระบายที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรมะขามแขกที่มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดชง เป็นต้น

 

ยาระบายช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือไม่?

ปกติแล้วเราจะสามารถลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก หรือลดไขมันหน้าท้องได้ […]

สาเหตุการเกิดโรคท้องผูก

Tweet !function(d,s,id){var js,fjs=d.getElementsByTagName(s)[0];if(!d.getElementById(id)){js=d.createElement(s);js.id=id;js.src=”//platform.twitter.com/widgets.js”;fjs.parentNode.insertBefore(js,fjs);}}(document,”script”,”twitter-wjs”);

 

1. กินอาหารไม่มีเส้นใย

เพราะปัจจุบันนี้กินแต่ข้าวขาว ขนมปังขาว ก๋วยเตี๋ยว ขนมเค้ก อาหารเหล่านี้ไม่มีเส้นใย ปกติร่างกายต้องการเส้นใยวันละ 20-25 กรัม

2. ความเครียด

เมื่อเกิดความเครียด จะมีอาการเบื่ออาหาร การขับถ่ายก็จะถูกผลกระทบไปด้วย คือ ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราว รอให้พ้นวิกฤตคลายเครียดแล้ว จึงจะกินง่ายถ่ายคล่อง

3. การกลั้นอุจจาระ

เป็นเพราะอาจไม่ชอบอุจจาระนอกบ้านโดยเฉพาะเด็กเล็ก ครั้งสองครั้งไม่เป็นไร ถ้าทำบ่อย ๆ ร่างกายจะแย่

4. ไม่ออกกำลังกาย

เพราะการออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหาร

5. อื่น ๆ เช่น

ทานชา, กาแฟ, ยาเคลือบกระเพาะ, ทานแคลเซียมมากเกินไป, ทานอาหารเหลว หรืออาจมีโรคร้ายแรงซ่อนอยู่ เช่น โรคไม่มีปมประสาทตรงทวารหนัก โรคพยาธิไส้เดือนอุดตันลำไส้ เป็นต้น

 

การย่อยอาหารจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ […]